วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แปลข่าวที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบบรรจุภัณฑ์

แปลโดย นางสาว พรปวีณ์   จันทร์ผ่องศรี
รหัสนักศึกษา  5311322357
รหัส วิชา  ARTI 3314  การออกแบบกราฟฟิก สำหรับ บรรจุภัณฑ์

ข่าว 1. YooMoo


Designed by BulletproofUnited Kingdom.
   เนื้อหา 

Bulletproof creates new take-home range for fro-yo brand yoomoo

A new take-home range for frozen yogurt brand yoomoo has launched in partnership with R&R Ice Cream, with packaging designed by leading London brand design agency Bulletproof. 

Following Bulletproof’s successful creation of the yoomoo brand identity in 2010, the agency was awarded the project as part of its on-going relationship with the brand.

Commenting on the project Joanna Buist, Account Manager, said: “The yoomoo brand has established its roots over the last two years and is now one of the leading frozen yogurt brands in the UK. The recent boom in frozen yogurt retailers has opened the category up to a wider audience creating a huge opportunity for the brand in take-home as well.”

Nina Fortune, Design Director, adds: “The yoomoo brand is all about personality. Our challenge was to ensure that this brand personality was retained in the take-home range whilst creating standout in the freezer cabinet and communicating yoomoo’s low fat, healthier offering.”

The new yoomoo take-home range has been available since April 2012, in a range of 150ml mini pots and 750ml sharing tubs, across retailers nationwide.
แปล

Bulletproof   คิดสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ สำหรับนำกลับบ้าน ของ แบรนด์ yoomoo


ช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์นำกลับบ้านสำหรับโยเกิร์ตแช่แข็งแบรนด์ yoomoo ได้เปิดตัวหุ้นส่วนกับไอศกรีม R & R, พร้อมบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยนำหน่วยงานที่ลอนดอนออกแบบตราสินค้า  Bulletproof.
     
   หลังจากที่Bulletproof  ประสบความสำเร็จในการสรา้งตัวแบรนด์ yoomoo ในปี 2010 หน่วยงานได้รับรางวัลโครงการ  เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ภายใต้ตราสินค้า


       ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ Joanna Buist, ผู้จัดการบัญชีกล่าวว่า "แบรนด์ yoomoo ได้จัดตั้งรากของมันมากกว่าสองปีและเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำโยเกิร์ตแช่แข็งใน UK  บูมที่ผ่านมาในร้านค้าปลีกโยเกิร์ตแช่แข็งได้เปิดหมวดหมู่ได้ถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นสร้างโอกาสมากสำหรับแบรนด์สำหรับนำกลับบ้านเช่นกัน. " 


Nina ฟอร์จูนกรรมการรับการออกแบบและเพิ่ม: "แบรนด์ yoomoo คือทั้งหมดที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ ความท้าทายของเราคือเพื่อให้แน่ใจว่าบุคลิกของตราสินค้านี้ถูกเก็บรักษาไว้ในช่วงเวลาที่นำกลับบ้าน   
ในขณะที่สร้างโดดเด่นอยู่ในตู้แช่แข็งและการติดต่อสื่อสาร ,yoomooไขมันต่ำให้มีสุขภาพดี. "

ผลิตภัณฑ์นำกลับบ้านตัวใหม่ของyoomooได้มีตั้งแต่เมษายน 2012 ในช่วง 150มล. ถ้วยมินิ  และหลอดที่ใช้ร่วมกัน 750ml ข้ามร้านค้าปลีกทั่วประเทศ 




สรุปเนื้อหา 
แบรนด์ yoomoo  ต้องการที่จะสร้างสรรค์ ตัวผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตแช่แข็งสำหรับนำกลับบ้านให้สามารถอยู่ได้นานในขณะกำลังนำกลับ 

ที่มา  http://www.packagingoftheworld.com/2012/05/yoo-moo.html

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ทำแบบทดสอบ  Pre-test ใน web-site   http://www.clarolinethai.info จำนวนประมาณ 40 ข้อ ให้เวลาในการทดสอบ 30 นาที 
และได้ให้ทำฟร้อนท์
นชื่อ โครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์ รุ่นใหม่”ครั้งที่ 2
ออกแบบ Front 
โดย นางสาว  พรปวีณ์  จันทร์ผ่องศรี
รหัสนักศึกษา  5311322357
รหัสวิชา  ARTI3314 ออกแบบกราฟฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

ขั้นตอนในการทำฟร้อนท์
1 sketch แบบด้วยมือ 


2. ทำการ ดราฟ ลายในโปรแกรม Photoshop หรือ  illustrator  โดยใช้ ตัว pen tool ในการ ดราฟ

3. จัดเรียงตัวอักษรที่ ดราฟไว้แล้ว ให้เป็นคำ และเป็นระเบียบ


                                                            ใบส่งผลงาน                             รหัสประจำตัวประชาชน  1100400558685



Concept    การออกแบบตัวอักษร ให้ออกมามีเอกลักษณ์ ความเป็นไทย มีความรู้สึกถึงความเป็นไทยหลงเหลืออยุ่   ที่ตัวอักษรแต่ละตัว จะเห็นว่าตรงปลาย หรือ หางของตัวอักษรจะมีการตวัดโค้งนิดหน่อย นั่นคือ แสดงถึงความอ่อนช้อยของไทย   














  


โครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์ รุ่นใหม่” ครั้งที่ 2



ฟอนต์ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้รองรับภาษาไทย จนทำให้เกิดการใช้งานในทุกๆ ส่วนของสังคมอย่างทั่วถึง
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งในระบบเปิด (Open Source Software) และระบบปิด (Commercial Software) ล้วนต้องใช้ฟอนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนใหญ่ มักจะเป็นฟอนต์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows และระบบปฏิบัติการ Mac OSX ซึ่งเป็นฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ มีบางฟอนต์ที่ผู้พัฒนาอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ฟอนต์ที่พัฒนาโดยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และฟอนต์ที่พัฒนาจากโครงการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)

ในส่วนของนักพัฒนาฟอนต์เองก็มีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนโดยตรงในสถาบันการศึกษา นักพัฒนาฟอนต์เหล่านี้จึงต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เอาเองอย่างไร้การ สนับสนุนจากสังคมทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันจะนำไปสู่ปัญหาคุณภาพของฟอนต์ที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย
ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จึงคิดโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่” นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ๆ และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟอนต์ ให้มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาฟอนต์ภาษาไทยอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ โดยจัดครั้งแรกขึ้นในปี 2554 ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
1) วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านอักขระภาษาไทย เพื่อมีแบบตัวพิมพ์ไทยให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หลากหลาย อ่านได้ง่าย สวยงาม และเหมาะกับเนื้อหาของงาน
- ส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่ โดยการสร้างเวทีสำหรับการแข่งขันประชันผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
- ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สำหรับนักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย อันประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักศึกษา นักออกแบบ บริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ ผู้ใช้ เครือข่ายสื่อต่างๆ และทรัพยากรบุคคลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน
2) การดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยผ่านเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบกราฟิก และการใช้ฟอนต์
- นักออกแบบฟอนต์ จะส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ชนิด PDF โดยผ่านทางเว็บไซต์ที่ชมรมฯ เตรียมไว้สำหรับการรับผลงาน ซึ่งมีระบบคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาของผู้ออกแบบฟอนต์เป็นอย่างดี
- ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน
• ผลงานออกแบบฟอนต์ ไม่จำกัดประเภท ได้แก่ ตัวเนื้อความ, ตัวพาดหัว, ตัวแฟนซี ฯลฯ
• ผลงานให้เรียงเป็นข้อความสั้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด บนพื้นที่กระดาษขนาด A3
- คณะกรรมการคัดเลือก ทีึ่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำหน้าที่คัดเลือกผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 20 คน เพื่อรับโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ และผู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ เป็นเวลา 1 วัน
- เผยแพร่ผลงานและข้อมูลของผู้ออกแบบ ผ่านทางเว็บไซต์ของชมรมฯ และเครือข่ายพันธมิตร
3) กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวด 
- นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชา lettering design และ typography
- นักออกแบบกราฟิก และบุคคลทั่วไปที่สนใจการออกแบบตัวพิมพ์
4) แผนการดำเนินงาน
- 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2555
• ติดต่อประสานงานเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ fOnt.com, เครือข่ายใน facebook, ผู้เคยเข้าร่วมกิจกรรมประกวดแบบตัวพิมพ์ของชมรมฯ และของกรมทรัพย์สินทางปัญญา, บริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์, อาจารย์และสถาบันการศึกษาทีเปิดสอนวิชา lettering design และ typography, นิตยสาร iDesign, Computer Art ฯลฯ
• แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผลงาน
- 15 พ.ค. 2555 เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการ
- 15 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2555 รับผลงานผ่านทางเว็บไซต์ www.tepclub.org
-  1-3 ก.ค. 2555 คัดเลือกผลงาน
- 5 ก.ค. 2555 แจ้งผลการคัดเลือกถึงผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ผ่านเกณฑ์ (รวม 50 คน)
- 21 ก.ค. 2555 กิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ (80-100 คน) ประกอบด้วย การสัมมนาวิชาการ กิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายฟอนต์ และการมอบโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ
5) ตัวชี้วัด 
ด้านจำนวนผู้เข้าร่วมและจำนวนผลงาน
- มีผู้ส่งผลงานไม่น้อยกว่า 150 คน จำนวนผลงาน ไม่น้อยกว่า 200 ผลงาน
- มีผลงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ไม่น้อยกว่า 20 ผลงาน
ด้านเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย
- มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 สถาบัน
- ได้รับความสนับสนุนจากบริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์
- ได้รับความสนับสนุนจากสื่อต่างๆ เช่น fOnt.com และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
6) การสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์
6.1) กิจกรรมสัมมนาวิชาการ
- ความรู้เรื่องฟอนต์สำหรับสือใหม่ (เว็บไซต์, eBook)
- ประสบการณ์ในการออกแบบตัวอักษรไทย และละติน (Latin)
- ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสร้างฟอนต์
- การทำตลาดฟอนต์ (ในประเทศและต่างประเทศ)
- ความเห็นเรื่องฟอนต์จากฝั่งนักออกแบบกราฟิก (ผู้ใช้ฟอนต์)
6.2) กิจกรรมสร้างเครือข่าย
-  จับคู่นักออกแบบและบริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์
-  แนะนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ – fOnt.com และ facebook และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
-  สร้างการมีส่วนร่วมของ resource persons ในเครือข่ายฟอนต์ โดยการเป็นวิทยากร การเป็นพี่เลี้ยงให้นักออกแบบรุ่นใหม่


วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์แรก


วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาจารย์ได้ บอกถึง กฏระเบียบ ในการใช้ห้องเรียน  เกณฑ์ การให้คะแนนและ วิธีการส่งงาน
และอาจารย์ได้ ให้ทำแบบสำรวจใน   http://arti3314.blogspot.com/

และให้สมัคร  G-mail   และให้ลองใช้ google + และบอกวิธีการบันทึกงานลงใน drive และได้บอกให้ สร้าง blogใน   http://www.blogger.com  

อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน และได้สั่งงาน ดังนี้

1 .งานกลุ่ม  ให้เลือกสินค้า   Kanchanaburi otop  มา 1 ชิ้น แล้วดำเนินการตามขั้นตอน คือการสืบค้น ตั้งชื่อกลุ่ม โลโก้ของกลุ่ม และแบบร่างจากการเลือกชิ้นค้านั้นๆ และทำเป็นรูปเล่มอย่างน้อย 16หน้าขึ้นไป  โดยฝากงานได้ที่  http://www.Issu.com


2. งานเดี่ยว งานส่งประกวดออกแบบตัวอักษร http://thaifont.info/ เข้าไปโหลดแบบฟอร์มและสมัครเป็นMemberเข้าไปอ่านรายละเอียด  ขนาด A3  
งานแปลข่าวอย่างน้อย 1 หน้า  เกี่ยวกับการออกแบบกราฟฟิกบรรจุภัณฑ์ ควรมีการอ้างอิง จาก web ที่เราหามาด้วย
เว็บต่างๆที่อ.แนะนำ
www.pinterest.com เป็นเว็บเกี่ยวกับการออกแบบ
www.chrolinethai.info