วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

รายงาน Final project

รายงานโครงการออกแบบและพัฒนากราฟฟิคและบรรจุภัณฑ์ สินค้าOTOPจ.กาญจนบุรี นริศ กระเป๋าผ้าเอนกประสงค์

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 12

เป็นการนำเสนอความคืบหน้าของผลงานเรา



Moodboard    
ARTWORK&DESIGN

สรุปผลที่ได้จากการนำเสนออาจารย์
1.กล่องทรงกระบอกควรที่จะพอดีกัตัวสินค้า
2.ตัวบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องใสการที่เราให้สติกเกอร์ใสนั้นจะทำให้กราฟฟิคและข้อความต่างๆจม ไม่เด่น  
    ชัด
3.กราฟฟิคยังไม่ถูกต้อง



การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 14


สัปดาห์นี้อาจารย์สอนการใช้โปรแกรม PackMage ซึ่งเป็นโปรแกรมในการช่วยให้การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์สะดวกมากขึ้น เป็นโปรแกรมที่รองรับกับระบบ windows PC
และหลังจากทำการเรียนการสอนเสร็จ อาจารย์ให้สอบ หัวข้อคือการใช้โปรแกรม Adobe illustrator ในการออกแบบ Art work ผลิตภัณฑ์จมูกข้าวกล้องหอมมะลิอบกรอบตรา กุ๊กกิ๊ก ตามรสชาติที่อาจารย์ได้กำหนดไว้แต่ละคนและ ตามขนาดและไฟล์ที่อาจารย์ได้แชร์ให้ ให้เวลาทำ 1:30 ชั่วโมง จากนั้นให้เซฟส่งในไดรฟ์ที่อาจารย์สร้างไว้ให้ 
รสที่ได้ คือ รสงาดำวนิลา


วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 11



      มีการรายงานแปร-สรุปข่าวหน้าชั้นเรียน
      อาจารย์สอนวิธีการใช้ Illustrator  ในการสร้าง Logo และ font ต่างๆ
      ท้ายชั่วโมง มีการส่งงาน Final Project
      ประกอบด้วย Moodboard Art work, SkecthUp


วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 9

เนื่องจากสัปดาห์ที่ 8 ไม่ได้มีการเรียนการสอน เพราะทางมหาวิทยาลัยมีการสอบกลางภาคของทุกชั้นปี
สัปดาห์นี้เป็นการตรวจงานครั้งสุดท้ายของงานกลุ่ม มีการสอบผ่านทาง clarolinethai.info โดยให้เวลาในการทดสอบ 20 นาที คะแนนที่ทำได้คือ 16 คะแนน
งานที่ได้รับ
ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไปจะเป็นงานเดี่ยว โดยใช้ผลิตภัณฑ์ตัวเดิม
ทุกสัปดาห์จะตรวจให้คะแนนต้องมีความคืบหน้าของตัวชิ้นงานตลอด


วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 7

จากการเรียนการสอนในหลายๆสัปดาห์ที่ผ่านมา เน้นไปที่การเข้าถึงระบบ web store ของ Google Chrome และแต่ละสัปดาห์อาจารย์ก็ได้สั่งให้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับตัวบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะต้องสรุปทุกๆเรื่อง รวมถึงตัวpackaging ที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่งในวันที่ 7 สิงหาคมโดยอาจารย์ได้ย้ำถึงการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่ก็อปปี้มาจากต้นแบบโดยตรง และต้องสามารถอธิบายได้ว่านำไปพัฒนาแบบอย่างไร ให้ตรงตามแนวคิด และกราฟิกอย่างไร ทั้งหมดนี้เพื่อคัดเลือกผลงานในกลุ่มและส่งประกวด Thai Star Awards 2012 ทั้งนี้การเรียนการสอนในอาทิตย์ล่าสุดได้มีการฝึกให้ใช้โปรแกรมสร้างโมเดล sketch up ซึ่งเป็นโปรแกรม สร้างโมเดล 3 มิติ หรือเขียนภาพจำลองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้การสร้างแบบ art work ของงานครั้งนี้ ประสบผลอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Thaistar packaging award 2012


     ในปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาดจำหน่ายสินค้าทั้งภายในและต่างประเทศนับวันจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี การบรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เป็นส่วนหนึ่ง และส่วนที่สำคัญของการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เมื่อมีสินค้าที่ส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศ รูปแบบของบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายสินค้าเหล่านั้นต้องสามารถเทียบเคียงกับคู่แข่งในประเทศอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญยิ่ง เกิดการรวมตัวกันในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ กลายเป็นสมาคม สหพันธ์ และองค์กรต่างๆ  โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมพัฒนาเผยแพร่เทคโนโลยี และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้แก่มวลสมาชิกและผู้สนใจได้ทราบความก้าวหน้า  และวิชาการที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์  ด้วยการสื่อสารทางเอกสารและการจัดประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในระดับประเทศอันได้แก่ ระดับนานาชาติและระดับโลก
     เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักออกแบบได้มีการพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมให้สินค้าไทยได้ไปจำหน่ายในต่างประเทศ การยกระดับมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ไทยสู่สากล และเพื่อส่งผลงานด้าน      บรรจุภัณฑ์ของไทยเข้าประกวดในนามตัวแทนจากประเทศไทย ทั้งในระดับนานาชาติ และระดับโลก   ส่วนพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวด้วยการจัดประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2555 ที่เรียกว่า “ThaiStar 2012” โดยร่วมมือกับภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ภายใต้หัวข้อ “บรรจุภัณฑ์ไทยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการพิจารณาให้เป็นตัวแทนประเทศไทย ในการประกวดบรรจุภัณฑ์ระดับเอเชียหรือ “AsiaStar 2012” ในช่วงเดือนตุลาคม 2555 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
     กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ร่วมกับ สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย (TPA) สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย (THAI CPA) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม กำหนดจัดการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2555 ตามรายละเอียดดังนี้
1.      วัตถุประสงค์       
1.1    เพื่อให้เกิดการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
1.2    เพื่อให้ได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ตัวอย่าง
1.3    เพื่อเป็นตัวแทนด้านบรรจุภัณฑ์ของประเทศที่จะเข้าประกวดในระดับเอเชีย (AsiaStar 2012 และระดับโลก (WorldStar) ต่อไป
1.4    เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีเวทีแสดงความรู้ความสามารถ
            
    2.      ประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่จัดประกวด
2.1    ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1.1     ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่าย สำหรับสินค้าทั่วไป
2.1.2   ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง สำหรับสินค้าทั่วไป
2.2  บรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้าที่มีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.2.1   บรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่าย สำหรับสินค้าทั่วไป
2.2.2   บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง สำหรับสินค้าทั่วไป
3.  หลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน
3.1  บรรจุภัณฑ์ทุกประเภทที่ส่งเข้าประกวดใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 
3.1.1   ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Innovation)
3.1.2   หน้าที่ ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งาน (Functional / Convenience)
3.1.3   ออกแบบได้สวยงาม สะดุดตา และสื่อความหมายถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้ (Graphic Appeal)
3.1.4   ความเหมาะสม/ประสิทธิภาพและสามารถนำไปผลิตในเชิงการค้าได้ 
        (Appropriateness / Efficiency and Commercial)           
3.1.5   การคำนึงถึงสภาวะแวดล้อม (Environmental Performance)
3.1.6  ความประทับใจโดยรวม (Overall Impression)
3.2  คณะกรรมการฯ สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของเกณฑ์การตัดสินและ
         จะพิจารณาให้รางวัลตามที่เห็นสมควร โดยคำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด
4.      หลักเกณฑ์ในการส่งเข้าประกวด
4.1     ประเภทต้นแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 2 ประเภท (ตามข้อ 2.1) ผู้ส่งผลงาน จะต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาไม่เกินระดับปริญญาตรีเท่านั้น โดยต้องส่งผลงานที่เป็นต้นแบบยังไม่มีการผลิตใช้งานจริง พร้อมผลิตภัณฑ์ตามประเภทที่ระบุบรรจุอยู่ภายใน คณะกรรมการจะไม่พิจารณาบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้าประกวดที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดแล้ว
        และผู้ส่งประกวดจะต้องส่งใบสมัครพร้อมคำบรรยายชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
4.2     ต้องส่งผลงานในรูปของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ พร้อมกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ โดยบรรจุภัณฑ์ต้นแบบที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีสินค้าของจริง หรือสินค้าจำลองคล้ายของจริงบรรจุอยู่ภายใน 1 ชิ้น และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบที่ส่งเข้าประกวดจะต้องสามารถนำไปผลิตจริงได้
4.3     ประเภทบรรจุภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าทั่วไป     จะต้องมีวางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว และ/หรือผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือกเข้าประกวด โดยบรรจุภัณฑ์จะต้องมีกราฟิกแสดงสาระสำคัญของสินค้าครบถ้วน และให้ส่งใบสมัครพร้อมคำบรรยายชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด โดยบรรจุภัณฑ์  ที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีสินค้าของจริงบรรจุอยู่ภายใน
4.4     บรรจุภัณฑ์ที่ชนะการประกวด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยส่วนพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ในรูปของการพิมพ์เอกสาร การจัดนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าของบรรจุภัณฑ์ไทยต่อไป
4.5     บรรจุภัณฑ์ที่ชนะการประกวดทุกประเภท ต้องจัดส่งบรรจุภัณฑ์เพิ่ม 1 ชุด               เพื่อกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถนำส่งเข้าประกวดในระดับสากลได้ เช่น  AsiaStar และ WorldStar เป็นต้น      
4.6      บรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้าประกวด และไม่ได้รับรางวัล ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถขอรับคืนได้ภายหลังวันตัดสินการประกวดภายใน 1 เดือน ถ้าผู้ส่งผลงานเข้าประกวดไม่มารับคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าไม่ประสงค์รับคืนบรรจุภัณฑ์นั้น                        
5.  รางวัลในการประกวด ThaiStar Packaging Awards 2012
5.1  ประเภทต้นแบบบรรจุภัณฑ์
5.1.1  ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่าย สำหรับสินค้าทั่วไป จำนวน 8 รางวัล
          รางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล  50,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
        รางวัลที่ 2 มี 1 รางวัล เงินรางวัล  30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
        รางวัลที่ 3 มี 1 รางวัล เงินรางวัล  20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
          รางวัลชมเชย มี 5 รางวัลๆ ละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร รวมเป็นเงิน 25,000 บาท
5.1.2  ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง สำหรับสินค้าทั่วไป  จำนวน 8 รางวัล
            รางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล เงินรางวัล  50,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
          รางวัลที่ 2 มี 1 รางวัล เงินรางวัล  30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
                รางวัลที่ 3 มี 1 รางวัล เงินรางวัล  20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
        รางวัลชมเชย มี 5 รางวัลๆ ละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร รวมเป็นเงิน 25,000 บาท 
5.2    ประเภทบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
5.2.1  บรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่าย จำนวน 10 รางวัล พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร 
5.2.2     บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง จำนวน 10 รางวัล พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
5.      การชี้แจงรายละเอียดในการประกวด
กำหนดจัดให้มีการสัมมนาชี้แจงรายละเอียดของการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2555  ในระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2555 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
6.      การส่งผลงานเข้าประกวด
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและส่งใบสมัครและแบบบรรจุภัณฑ์ เข้าประกวดได้ที่         ส่วนพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์  และการพิมพ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ชั้น 6 อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน  ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110  โทรศัพท์ 0 2367 8181,0 2367 8182, 0 2367 8183  โทรสาร 0 2367 8184  หรือทาง pdpd.dip.go.th ระหว่างวันที่ 1 - 10 สิงหาคม 2555 ในวันและเวลาราชการ

7.      การตัดสินการประกวด

คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีประสบการณ์ด้านบรรจุภัณฑ์        ทั้งภาครัฐและเอกชน พิจารณาตัดสินในวันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2555 ณ อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

8.      การประกาศผลการตัดสิน

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะประกาศผลการตัดสินผู้ที่ชนะการประกวดและกำหนดพิธีมอบรางวัล จะแจ้งให้ทราบหลังวันตัดสิน
ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ชั้น 6 อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน  ซอยตรีมิตร    กล้วยน้ำไท ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ  10110  โทรศัพท์ 0 2367 8181, 0 2367 8182,     0 2367 8183  โทรสาร 0 2367 8184  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 6

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 5

วันนี้ได้มีการ ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ ความคืบหน้าของงานกลุ่ม พร้อมให้คำแนะนำเรื่องการทำ Art work และได้มีการนำเสนอข่าวทั้งหมด 4 คน/สัปดาห์

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการมองเห็น

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง(Product Visual analysis)
ชื่อ ผลิตภัณฑ์  กระเป๋าอเนกประสงค์ ตรายี่ห้อ นริศ Naris

ภาพแสดงโครงสร้าง และส่วนประกอบทางกราฟฟิคของผลิตภัณฑ์ กระเป๋าอเนกประสงค์ ยี่ห้อ นริศ


ผลการวิเคราะห์
ก. โครงสร้างของตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบัน
  หมายเลข 1 คือ
1. กล่องพลาสติก PVC   หรือ เรียกว่า poly vinyl chloride
2. มีรูปแบบกล่องเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบตั้ง
3. มีขนาด สูง 22 ซม. กว้าง 6 ซม.

4. ราคา 8 บาท / ใบ

หมายเลข 2 คือ
1.ตัวสินค้า
2.ทำจากผ้าจกทอมือ

What    กระเป๋าอเนกประสงค์ทำจากผ้าจกทอมือ
Where    1/9 ม.2 ต.บ้านใหม่  อ.ท่าม่วง  จ.กาญจนบุรี  71110
When   ใช้เป็นสินค้าของฝากจาก จ.กาญจนบุรี
Who      กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าบ้านใหม่  (ประธานกลุ่ม คือ คุณ นริศรา  จีนาภักดิ์)


How  much   ขายใบละ 40 [km แต่ถ้าซื้อเป็นโหล โหลละ 380 บาท


แปลความหมายได้
กราฟฟิคบนตัว บรรจุภัณฑ์ที่ใช้
หมายเลข 1. คือ ชื่อแบรนด์ของสินค้า
               2. คือ เบอร์โทร์ติดต่อ ผู้จำหน่ายสินค้า
               3. คือ พื้นหนังสีเหลืองเป็นรูปวงรีรอบชื่อแบรนด์ของสินค้า
       ตัวพื้นสีเหลืองตัดกับตัวอักษรสีน้ำเงินทำให้ตัวอักษรเด่นชัดเจนบวกกับกระดาษสีดำยิ่งทำให้ทุก
อย่างดูลงตัว
  ปัญหาที่พบ  คือ
1. ข้อมูลของสินค้าที่แสดงบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ซึ่งขอมูลของสินค้านี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้ซื้อ
2. ตัวบรรจุภัณฑ์ไม่มีความน่าสนใจ
3. ตัวฉลากสินค้ามีขนาดเล็ก ปลิวหายง่าย
4. ราคา 8 บาท / ใบ
หมายเลข 2 คือ
1.ตัวสินค้า
2.ทำจากผ้าจกทอมือ

What    กระเป๋าอเนกประสงค์ทำจากผ้าจกทอมือ
Where    1/9 ม.2 ต.บ้านใหม่  อ.ท่าม่วง  จ.กาญจนบุรี  71110
When   ใช้เป็นสินค้าของฝากจาก จ.กาญจนบุรี
Who      กลุ่มหัตถกรรมทอผ้าบ้านใหม่  (ประธานกลุ่ม คือ คุณ นริศรา  จีนาภักดิ์)


How  much   ขายใบละ 40 [km แต่ถ้าซื้อเป็นโหล โหลละ 380 บาท


แปลความหมายได้
กราฟฟิคบนตัว บรรจุภัณฑ์ที่ใช้
 

หมายเลข 1. คือ ชื่อแบรนด์ของสินค้า
               2. คือ เบอร์โทร์ติดต่อ ผู้จำหน่ายสินค้า
               3. คือ พื้นหนังสีเหลืองเป็นรูปวงรีรอบชื่อแบรนด์ของสินค้า
       ตัวพื้นสีเหลืองตัดกับตัวอักษรสีน้ำเงินทำให้ตัวอักษรเด่นชัดเจนบวกกับกระดาษสีดำยิ่งทำให้ทุก
อย่างดูลงตัว
  ปัญหาที่พบ  คือ
1. ข้อมูลของสินค้าที่แสดงบนบรรจุภัณฑ์ไม่มี ซึ่งขอมูลของสินค้านี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้ซื้อ
2. ตัวบรรจุภัณฑ์ไม่มีความน่าสนใจ
3. ตัวฉลากสินค้ามีขนาดเล็ก ปลิวหายง่าย

การออกแบบเพื่อพัฒนา  คือ
1.การออกแบบเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับตัวสินค้า

ความต้องการของเจ้าของสินค้า
- ต้องการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ใหม่
 

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนใน สัปดาห์ ที่ 4

อาจารย์ได้สอนใช้ Chrome  web  store   โดยเข้าไปที่ https://chrome.google.com/webstore
และได้แนะนำให้ไช้ app mindmap  
และได้สอนเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล (ส1) อย่างละเอียด  อธิบายวิธีการสอบถามข้อมูล และการวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ 

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แปลข่าวที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบบรรจุภัณฑ์

แปลโดย นางสาว พรปวีณ์   จันทร์ผ่องศรี
รหัสนักศึกษา  5311322357
รหัส วิชา  ARTI 3314  การออกแบบกราฟฟิก สำหรับ บรรจุภัณฑ์

ข่าว 1. YooMoo


Designed by BulletproofUnited Kingdom.
   เนื้อหา 

Bulletproof creates new take-home range for fro-yo brand yoomoo

A new take-home range for frozen yogurt brand yoomoo has launched in partnership with R&R Ice Cream, with packaging designed by leading London brand design agency Bulletproof. 

Following Bulletproof’s successful creation of the yoomoo brand identity in 2010, the agency was awarded the project as part of its on-going relationship with the brand.

Commenting on the project Joanna Buist, Account Manager, said: “The yoomoo brand has established its roots over the last two years and is now one of the leading frozen yogurt brands in the UK. The recent boom in frozen yogurt retailers has opened the category up to a wider audience creating a huge opportunity for the brand in take-home as well.”

Nina Fortune, Design Director, adds: “The yoomoo brand is all about personality. Our challenge was to ensure that this brand personality was retained in the take-home range whilst creating standout in the freezer cabinet and communicating yoomoo’s low fat, healthier offering.”

The new yoomoo take-home range has been available since April 2012, in a range of 150ml mini pots and 750ml sharing tubs, across retailers nationwide.
แปล

Bulletproof   คิดสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ สำหรับนำกลับบ้าน ของ แบรนด์ yoomoo


ช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์นำกลับบ้านสำหรับโยเกิร์ตแช่แข็งแบรนด์ yoomoo ได้เปิดตัวหุ้นส่วนกับไอศกรีม R & R, พร้อมบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยนำหน่วยงานที่ลอนดอนออกแบบตราสินค้า  Bulletproof.
     
   หลังจากที่Bulletproof  ประสบความสำเร็จในการสรา้งตัวแบรนด์ yoomoo ในปี 2010 หน่วยงานได้รับรางวัลโครงการ  เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ภายใต้ตราสินค้า


       ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ Joanna Buist, ผู้จัดการบัญชีกล่าวว่า "แบรนด์ yoomoo ได้จัดตั้งรากของมันมากกว่าสองปีและเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำโยเกิร์ตแช่แข็งใน UK  บูมที่ผ่านมาในร้านค้าปลีกโยเกิร์ตแช่แข็งได้เปิดหมวดหมู่ได้ถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นสร้างโอกาสมากสำหรับแบรนด์สำหรับนำกลับบ้านเช่นกัน. " 


Nina ฟอร์จูนกรรมการรับการออกแบบและเพิ่ม: "แบรนด์ yoomoo คือทั้งหมดที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ ความท้าทายของเราคือเพื่อให้แน่ใจว่าบุคลิกของตราสินค้านี้ถูกเก็บรักษาไว้ในช่วงเวลาที่นำกลับบ้าน   
ในขณะที่สร้างโดดเด่นอยู่ในตู้แช่แข็งและการติดต่อสื่อสาร ,yoomooไขมันต่ำให้มีสุขภาพดี. "

ผลิตภัณฑ์นำกลับบ้านตัวใหม่ของyoomooได้มีตั้งแต่เมษายน 2012 ในช่วง 150มล. ถ้วยมินิ  และหลอดที่ใช้ร่วมกัน 750ml ข้ามร้านค้าปลีกทั่วประเทศ 




สรุปเนื้อหา 
แบรนด์ yoomoo  ต้องการที่จะสร้างสรรค์ ตัวผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตแช่แข็งสำหรับนำกลับบ้านให้สามารถอยู่ได้นานในขณะกำลังนำกลับ 

ที่มา  http://www.packagingoftheworld.com/2012/05/yoo-moo.html

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ทำแบบทดสอบ  Pre-test ใน web-site   http://www.clarolinethai.info จำนวนประมาณ 40 ข้อ ให้เวลาในการทดสอบ 30 นาที 
และได้ให้ทำฟร้อนท์
นชื่อ โครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์ รุ่นใหม่”ครั้งที่ 2
ออกแบบ Front 
โดย นางสาว  พรปวีณ์  จันทร์ผ่องศรี
รหัสนักศึกษา  5311322357
รหัสวิชา  ARTI3314 ออกแบบกราฟฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

ขั้นตอนในการทำฟร้อนท์
1 sketch แบบด้วยมือ 


2. ทำการ ดราฟ ลายในโปรแกรม Photoshop หรือ  illustrator  โดยใช้ ตัว pen tool ในการ ดราฟ

3. จัดเรียงตัวอักษรที่ ดราฟไว้แล้ว ให้เป็นคำ และเป็นระเบียบ


                                                            ใบส่งผลงาน                             รหัสประจำตัวประชาชน  1100400558685



Concept    การออกแบบตัวอักษร ให้ออกมามีเอกลักษณ์ ความเป็นไทย มีความรู้สึกถึงความเป็นไทยหลงเหลืออยุ่   ที่ตัวอักษรแต่ละตัว จะเห็นว่าตรงปลาย หรือ หางของตัวอักษรจะมีการตวัดโค้งนิดหน่อย นั่นคือ แสดงถึงความอ่อนช้อยของไทย   














  


โครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์ รุ่นใหม่” ครั้งที่ 2



ฟอนต์ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้รองรับภาษาไทย จนทำให้เกิดการใช้งานในทุกๆ ส่วนของสังคมอย่างทั่วถึง
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งในระบบเปิด (Open Source Software) และระบบปิด (Commercial Software) ล้วนต้องใช้ฟอนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนใหญ่ มักจะเป็นฟอนต์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows และระบบปฏิบัติการ Mac OSX ซึ่งเป็นฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ มีบางฟอนต์ที่ผู้พัฒนาอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ฟอนต์ที่พัฒนาโดยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และฟอนต์ที่พัฒนาจากโครงการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)

ในส่วนของนักพัฒนาฟอนต์เองก็มีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนโดยตรงในสถาบันการศึกษา นักพัฒนาฟอนต์เหล่านี้จึงต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เอาเองอย่างไร้การ สนับสนุนจากสังคมทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันจะนำไปสู่ปัญหาคุณภาพของฟอนต์ที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย
ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จึงคิดโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่” นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ๆ และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟอนต์ ให้มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาฟอนต์ภาษาไทยอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ โดยจัดครั้งแรกขึ้นในปี 2554 ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
1) วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านอักขระภาษาไทย เพื่อมีแบบตัวพิมพ์ไทยให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หลากหลาย อ่านได้ง่าย สวยงาม และเหมาะกับเนื้อหาของงาน
- ส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่ โดยการสร้างเวทีสำหรับการแข่งขันประชันผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
- ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สำหรับนักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย อันประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักศึกษา นักออกแบบ บริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ ผู้ใช้ เครือข่ายสื่อต่างๆ และทรัพยากรบุคคลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน
2) การดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยผ่านเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบกราฟิก และการใช้ฟอนต์
- นักออกแบบฟอนต์ จะส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ชนิด PDF โดยผ่านทางเว็บไซต์ที่ชมรมฯ เตรียมไว้สำหรับการรับผลงาน ซึ่งมีระบบคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาของผู้ออกแบบฟอนต์เป็นอย่างดี
- ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน
• ผลงานออกแบบฟอนต์ ไม่จำกัดประเภท ได้แก่ ตัวเนื้อความ, ตัวพาดหัว, ตัวแฟนซี ฯลฯ
• ผลงานให้เรียงเป็นข้อความสั้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด บนพื้นที่กระดาษขนาด A3
- คณะกรรมการคัดเลือก ทีึ่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำหน้าที่คัดเลือกผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 20 คน เพื่อรับโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ และผู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ เป็นเวลา 1 วัน
- เผยแพร่ผลงานและข้อมูลของผู้ออกแบบ ผ่านทางเว็บไซต์ของชมรมฯ และเครือข่ายพันธมิตร
3) กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวด 
- นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชา lettering design และ typography
- นักออกแบบกราฟิก และบุคคลทั่วไปที่สนใจการออกแบบตัวพิมพ์
4) แผนการดำเนินงาน
- 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2555
• ติดต่อประสานงานเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ fOnt.com, เครือข่ายใน facebook, ผู้เคยเข้าร่วมกิจกรรมประกวดแบบตัวพิมพ์ของชมรมฯ และของกรมทรัพย์สินทางปัญญา, บริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์, อาจารย์และสถาบันการศึกษาทีเปิดสอนวิชา lettering design และ typography, นิตยสาร iDesign, Computer Art ฯลฯ
• แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผลงาน
- 15 พ.ค. 2555 เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการ
- 15 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2555 รับผลงานผ่านทางเว็บไซต์ www.tepclub.org
-  1-3 ก.ค. 2555 คัดเลือกผลงาน
- 5 ก.ค. 2555 แจ้งผลการคัดเลือกถึงผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ผ่านเกณฑ์ (รวม 50 คน)
- 21 ก.ค. 2555 กิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ (80-100 คน) ประกอบด้วย การสัมมนาวิชาการ กิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายฟอนต์ และการมอบโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ
5) ตัวชี้วัด 
ด้านจำนวนผู้เข้าร่วมและจำนวนผลงาน
- มีผู้ส่งผลงานไม่น้อยกว่า 150 คน จำนวนผลงาน ไม่น้อยกว่า 200 ผลงาน
- มีผลงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ไม่น้อยกว่า 20 ผลงาน
ด้านเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย
- มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 สถาบัน
- ได้รับความสนับสนุนจากบริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์
- ได้รับความสนับสนุนจากสื่อต่างๆ เช่น fOnt.com และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
6) การสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์
6.1) กิจกรรมสัมมนาวิชาการ
- ความรู้เรื่องฟอนต์สำหรับสือใหม่ (เว็บไซต์, eBook)
- ประสบการณ์ในการออกแบบตัวอักษรไทย และละติน (Latin)
- ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสร้างฟอนต์
- การทำตลาดฟอนต์ (ในประเทศและต่างประเทศ)
- ความเห็นเรื่องฟอนต์จากฝั่งนักออกแบบกราฟิก (ผู้ใช้ฟอนต์)
6.2) กิจกรรมสร้างเครือข่าย
-  จับคู่นักออกแบบและบริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์
-  แนะนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ – fOnt.com และ facebook และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
-  สร้างการมีส่วนร่วมของ resource persons ในเครือข่ายฟอนต์ โดยการเป็นวิทยากร การเป็นพี่เลี้ยงให้นักออกแบบรุ่นใหม่


วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในสัปดาห์แรก


วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาจารย์ได้ บอกถึง กฏระเบียบ ในการใช้ห้องเรียน  เกณฑ์ การให้คะแนนและ วิธีการส่งงาน
และอาจารย์ได้ ให้ทำแบบสำรวจใน   http://arti3314.blogspot.com/

และให้สมัคร  G-mail   และให้ลองใช้ google + และบอกวิธีการบันทึกงานลงใน drive และได้บอกให้ สร้าง blogใน   http://www.blogger.com  

อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน และได้สั่งงาน ดังนี้

1 .งานกลุ่ม  ให้เลือกสินค้า   Kanchanaburi otop  มา 1 ชิ้น แล้วดำเนินการตามขั้นตอน คือการสืบค้น ตั้งชื่อกลุ่ม โลโก้ของกลุ่ม และแบบร่างจากการเลือกชิ้นค้านั้นๆ และทำเป็นรูปเล่มอย่างน้อย 16หน้าขึ้นไป  โดยฝากงานได้ที่  http://www.Issu.com


2. งานเดี่ยว งานส่งประกวดออกแบบตัวอักษร http://thaifont.info/ เข้าไปโหลดแบบฟอร์มและสมัครเป็นMemberเข้าไปอ่านรายละเอียด  ขนาด A3  
งานแปลข่าวอย่างน้อย 1 หน้า  เกี่ยวกับการออกแบบกราฟฟิกบรรจุภัณฑ์ ควรมีการอ้างอิง จาก web ที่เราหามาด้วย
เว็บต่างๆที่อ.แนะนำ
www.pinterest.com เป็นเว็บเกี่ยวกับการออกแบบ
www.chrolinethai.info